วันจันทร์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2562

pvt


ถ้าคุณ!! เป็นคนหนึ่่งที่ ปวดคอ ปวดบ่า ปวดไหล่ติด กระดูกทับเส้นประสาท เข่าเสื่อม กล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาท และโรคอื่น ที่คุณไม่เคยรู้มาก่อน

สอบถามปรึกษา รับคำแนะนำ โทร.090-938-3810 คุณพรทิพย์

โรคกล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาท (piriformis syndrome)


- เกิดอาการปวดลึกๆที่แก้มก้น หรือก้นย้อยเท่านั้น มักจะคลำหาจุดกดเจ็บได้ยาก รู้สึกแค่ว่าปวดที่ก้นลึกๆ
- เมื่อปวดมากขึ้นอาจมีอาการปวดก้น และร้าวลงต้นขาด้านหลัง หน้าแข้ง บางรายอาจมีอาการปวดที่ข้อเท้าร่วมด้วย
- อาการปวดเพิ่มมากขึ้น เมื่อนั่งนานๆ โดยเฉพาะคนที่มีอาชีพขับรถ
- อาการปวดจะทุเลาลงเมื่อลุกขึ้นยืน เดิน (แต่ในบางรายที่ปวดเรื้อรังอาจจะปวดตลอดเวลาไม่ว่าจะนั่งหรือยืน)
- บางรายมีอาการชาที่ขาร่วมด้วย และจะชามากขึ้นเมื่อนั่งเป็นเวลานาน จนทนไม่ไหวต้องลุกขึ้นมายืนก็มี
- พบจุดกดเจ็บที่ก้น และเมื่อใช้นิ้วกดลงไปที่จุดกดเจ็บนั้น จะรู้สึกปวดร้าวชาร้าวลงไปของขาข้างนั้นๆ

อย่า!!.. ปล่อยอาการเหล่านี้ไว้ก่อนกลายเป็นอัมพฤกษ์นะค่ะ




ปรึกษาปัญหาสุขภาพ โทร.090-938-3810 คุณพรทิพย์

โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท


- มีอาการชาร้าวลงขา (อาการคล้ายกับ piriformis syndrome นะค่ะ

- พบจุดกดเจ็บกระดูกสันหลังของข้อที่หมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อน และในรายที่เป็นมากจะมีอาการปวดแปล๊บทั่วไปทั้งแผ่นหลัง แม้เพียงแตะเล็กน้อยก็จะเจ็บมากจนต้องร้องโอดโอย (ในโรค piriformis syndrome จะปวดลึกๆที่ก้นเท่านั้น ไม่มีอาการปวดหลังใดๆ)

- ไอ จามจะกระตุ้นให้ปวดมากขึ้น (โรค piriformis syndrome ต่อให้ไอทั้งวันก็ไม่ทำให้อาการปวดเพิ่มขึ้น)

- เมื่อนั่งจะรู้สึกสบาย อาการปวดแปล๊บและชาลดลง แต่เมื่อยืนเดินอาการปวดแปล๊บและชาจะเพิ่มมากขึ้น ในผู้ป่วยบางรายเดินเพียง 5 นาทีก็ต้องนั่งแล้วเพราะทนอาการชาไม่ไหว (ผู้ที่เป็นโรค piriformis syndrome อาการปวดจะค่อยๆเพิ่มขึ้นเมื่อนั่งนาน และรู้สึกปวดลึกๆหน่วงๆไม่ใช่อาการปวดแปล๊บเหมือนไฟช็อต)

- กล้ามเนื้อหลังตึงเกร็งจนสังเกตุเห็นได้ว่าผู้ป่วยจะเดินหลังแข็งเหมือนหุ่นยนต์ก็ไม่ปาน (ในโรค piriformis syndrome ผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงจะเดินขากระเพกเหมือนคนขาเจ็บ แต่ในรายที่ปวดไม่มากนั้นเดินเหมือนคนปกติทั่วไป)

- ในรายที่ไม่ได้เข้ารับการรักษา จะพบว่ากล้ามเนื้อขาข้างที่ชานั้นมีการฝ่อลีบเมื่อเทียบกับข้างปกติ (การฝ่อลีบของกล้ามเนื้อก็เกิดขึ้นได้เช่นกันในผู้ป่วย piriformis syndrome)

- เมื่อแอ่นหลังผู้ป่วยจะปวดและชามากขึ้น แต่เมื่อก้มหลังอาการจะทะเลาลง (จะแอ่นจนหลังหัก หรือก้มหลังจนมองลอดหว่างขาก็ไม่สามาารถกระตุ้นให้เกิดอาการปวดมากขึ้นได้ในโรค piriformis syndrome)



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น